พิธีเปลี่ยนสถานภาพของผู้หญิงเขมร กรณีพิธีกรรมการเข้าห่อ(โจลมลฺบ)

ពិធីចូលម្លប់ៈការបំលាប់ប្ដូរស្ថានភាពរបស់ស្រ្ដីខ្មែរ

SHADING KHMER GIRL : STATUE’ CHANGE  

យន់ សុធា พระสุเธีย สุวณฺณเถโร Ven. Sothea Yon

shadig girl

            พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวข้องกับการเข้าห่อ/ห้องของผู้หญิงเขมรที่มีอายุเริ่มเป็นสาว เป็นพิธีกรรมหนึ่ง ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งเป็นพิธีกรรมและความเชื่อที่ส่งเสริมในเชิงจริยธรรม ศีลธรรม ฝึกฝนนิสัยใจคอให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี หรืออีกนัยคือเปลี่ยนสถานภาพผู้หญิงให้กลายเป็นอีกคนหนึ่ง ที่มีความรอบรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นทำเป็น

การศึกษาครั้งนี้ เพียงเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดช่องทางให้ผู้ที่มีความประสงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม ซึ่ง การศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้ทำการสัมภาษณ์เพื่อทำความเข้าใจถึงความรู้สึกหรือเจาะลึกของผู้ที่อยู่ในห่อ/ห้อง แต่เพียงเป็นการศึกษาจากตำรับตำรา และเคยเข้าไปร่วมในพิธีกรรมนี้ ในช่วงที่ผู้หญิงได้ออกจากห่อ ตามกำหนดการที่มีความตกลงกัน ฉะนั้น จึงยากในการทำความเข้าใจ

c1

บทนำ

กัมพูชาหรือเขมรเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ ที่มีความเป็นมาอันยาวนานในเชิงประวัติ ศาสตร์ มีความเชื่อเรื่องภูตผี วิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งเหนือธรรมชาติ พร้อมทั้งมีพิธีกรรมที่เกี่ยงข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะในแต่ละชาติพันธุ์ ความเชื่อและพิธีกรรมเหล่านี้ได้วิวัฒนาการคู่กับการพัฒนาของคน ซึ่งบางความเชื่อและพิธีกรรมได้ทำสืบต่อ ๆ กันมาจนกลายเป็นขนมธรรมเนียมแอบแฝงด้วยคติธรรมสอนในทางออม เช่นความเชื่อเรื่องการเข้าไปอยู่ในห่อของผู้หญิงที่เต็มวัยเป็นสาว (ตรึง เงีย 1973,22-25)

พิธีการเข้าห่อของผู้หญิงที่มีอายุเป็นสาวหรืมีอายุก่อนแต่งงาน มีความเป็นมาอันยาวนาน  แม้แต่ไม่มีหลักฐานบ่งบอกชี้ให้เห็นชัดว่ามีตั้งแต่สมัยไหน นักวิชาการบ้างคนให้ความว่า มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้า      โกฑัญญะหรือพระเจ้าทองที่อภิเศษกับนางนาคี ” เนียงเนียะค ” หรือนางโสมาในเกาะโกโธลก[1]โดยอาศัยพิธีกรรมหนึ่งที่กล่าวถึงพระทองถือสไบเข้าห้องกับนางนาคี บ้างคนว่าเกิดขึ้นโดยเอาตามนิทานโบราณที่ว่าด้วย บุณฺณกยักษา ที่นางนาคีออกไปตามหาพระสามีที่โลกมนุษย์ซึ่งพูดถึงกฎระเบียบของผู้หญิงที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด (หมื่น ไม 1974 : 18) ในสมัยพระนคร ทูตจีน จู ตากวน (Zhou Daguan, 1297.AD.) ได้พยายามทำความเข้าใจในพิธีกรรมหนึ่งที่เกี่ยวกับผู้หญิงที่มีวัยเด็กตั้งแต่อายุ 12 ปี ขึ้นไป ซึ่งพิธีกรรมนี้ที่ปรารภขึ้นก่อนที่จะแต่งงาน โดยตามความเชื่อในคนสมัยนั้นว่า ถ้าผู้หญิงอยากมีสามี ครอบครัวของผู้หญิงคนนั้นต้องจัดพิธีกรรมเอาพรหมจรรย์ของเด็กออก (Peter Harris: 2007, 56-58)  เนื่องจากในสมัยโบราณ ที่สำคัญคือ สมัยประเทศเขมรในยุคเจนฬา ที่ผู้หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชายแต่งงาน ฉะนั้น การที่จะไปสู่ขอได้ ผู้หญิงคนนั้นต้องมีพิธีกรรมยกตัวให้สูงขึ้นเพื่อเอาใจผู้ชาย ซึ่งเราสามารถอนุโลมโดยอาศัยเหตุผลนี้ จะบ่งให้เห็นว่าพิธีกรรมการเข้าห่อน่าแต่มีในสมัยนั้นด้วย

ขนบธรรมเนียมการโจลส์โมลฺบ[2](พิธีเข้าห่อ)เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญ และมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้หญิงที่มีอายุครอบวัยเป็นสาว ซึ่งตามขนมทำเนียมของชาวเขมร ถ้าบ้านไหนมีลูกสาว เมื่ออายุถึงแล้ว ต้องจัดให้พิธีกรรมเข้าห่อเพื่อความเป็นการตอบสนองพระคุณของพ่อแม่ โดยมีความเชื่อที่ว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิที่จะได้บวชเรียน เพื่อตอบสนองพระคุณของท่าน เหมือนลูกผู้ชายที่บวชเรียน ฉะนั้นจึงจัดให้ลูกสาวเข้าห่อ แต่ในมุมมองหนึ่งว่า ถ้าถึงอายุครอบ 18 ปี หรือมีอายุก่อนจะแต่งงาน ผู้หญิงคนนั้นต้องมีพิธีกรรมเข้าห่อเพื่อดูแลตัวให้สวยงาน โดยมีความเชื่อโบราณนิทานหนึ่งที่ได้กล่าวถึงการเข้าห่อของผู้หญิงก่อนอายุครอบ 18 ปี เมื่อเธอออกจากห่อ ทำให้ผิวพรรณของเธอสวยงามผิตปรกติ เนื่องจากในขณะที่อยู่ในห่อนั้น พ่อของเธอได้นำเอาเครื่องสำอางแต่งตัว เช่นเอาเขม้น มาทาตัว และให้บริโภคแต่ของดี ๆ เช่นผลไม้เป็นต้น จึงทำให้เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเห็นความสวยงานของเธอและเลียบแบบตาม โดยให้ลูกสาวคนโตอยู่ในห่อจนครอบวาระจึงอนุญาตให้ออกมาได้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีการปฏิบัติตามกันมาจนถึงทุกวันนี้ (ฆุด ฆุน 1994.18-22)

สมเด็จพระสงฆราช คณะมหานิกาย ช.ณ.โชตณฺญาโณ ชวน ณาต ท่านได้กล่าวว่า พิธีเข้าห่อ เป็นพิธีกรรมสำหรับผู้หญิงที่มีอายุครบเป็นสาวและเป็นพิธีที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้หญิงกลายเป็นกลสตรีเขมร เป็นแม่บ้านอันแท้จริง โดยพ่อแม่จะบังคับให้ลูกสาวเข้าห่อ อยู่แต่ภายในบ้าน ห้ามไม่ให้ออกนอก กว่าจนถึงวันกำหนดการ จึงอนุญาตให้อออกนอกบ้านหรือห้องได้ จึงเรียกผู้หญิงนั้นว่า เป็นผู้หญิงที่เต็มสมบูรณ์ด้วยความสวยงานทั้งกายและจิตใจ (Perfect and virtue woman) มีคุณสมบัติเป็นกลสตรีเขมร พิธีนี้เป็นพิธีมงคลสำหรับผู้หญิงและเป็นเกียรติของของพ่อแม่ด้วย (ช.ณาด.2511, 685)

กรณีผู้หญิงที่เข้าอยู่ในห่อ/ห้อง คนไหนออกจากห่อหรือบ้านก่อนวันกำหนด ผู้หญิงคนนั้น จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้หญิงที่ขาดความเป็นสตรีไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นสตรีเขมรอันสมบูรณ์ (Imperfect and virtueless woman) ใครเอาผู้หญิงคนนี้ไปเป็นภรรยา จะพบแต่ความพินาศ โดยยึดเอาตามความเชื่อในวรรณกรรมเขมร เรื่อง ทม-เตียว (Tum Teav) ซึ่งเตียวในขณะอยู่ภายในห่อได้ออกนอก พร้อมทั้งมีจิตใจออกนอกจากกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติในช่วงเข้าห่อ (George Chigas and others: 2005, 41-44) ในเรื่องนี้ชี้ให้เห็นลักษณะสองอย่าง 1 ความเป็นมาของการเข้าห่อ[3]ของผู้หญิงที่มีอายุเป็นสาวในสมัยของพระเจ้ารามาธิบดี 2 ค.ศ. 1635-1655 (​​ King Rea-mea Thipadei) การทำผิตกฎระเบียบ[4]ในขณะอยู่ภายในห่อ ซึ่งเป็นกฎ ฉบับที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

 

พิธีกรรมเกี่ยวกับการเข้าห่อของผู้หญิงเป็นสาว  

c2

           ตามขนมธรรมเนียนประเพณีเขมร ผู้หญิงที่มีอายุเริ่มเป็นสาว เมื่อรู้ตัวผิตแปลก ปะลาดจากความปรกติทางกายสมบัติ จิตใจ เช่นมีอวยวะทางเพศ ความรู้สึก มีฤดู มีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น รู้จากความละอาย ได้นำเอาเรื่องเหล่านี้ไปบอกคุณแม่ เมื่อคุณแม่ได้รับทราบแล้ว จึงปรึกษาหาหรือกับคุณพ่อและญาติพี่น้อง คนแก่คนเฒ่าที่อยู่ใกล้ชิด เพื่อทำความตกลงกันว่าควรที่จะให้ลูกสาวเข้าไปอยู่ในห่อหรือไม่ แต่พิธีกรรมเข้าอยู่ในห่อ เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยงข้องกับผู้หญิงที่บรรลุนิติภาวะและโดยความสมัครใจ ไม่ถูกการขู่บังคับ พร้อมทั้ง ต้องคำนึงถึงทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ และเข้าได้เฉพาะเข้าได้แต่คนโตในครอบครัว

พิธีกรรมในการเข้าห่อ ตามหลักการแล้ว มีการจัดแบบเงียบง่าย ๆ ไม่เปิดเผยให้คนอื่นที่นอกจากญาติสนิท โดยเรียนเชิญญาติ ๆ และพระสงฆ์ เข้ามาปรารภพิธีกรรม เช่น คนแก่คนเฒ่าจัดทำพิธีกรรม เช่นการเซ่นบวงสรวงเทพรักษ์ กล่าวคำบอกผีปู่ยา ตายาย ให้ได้รับทราบ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ถ้าคนไหนจัดพิธีกรรมเกี่ยวกับครอบครัว ญาติพี่น้อง ไม่ได้เซ่นบอกให้ผีพรรบบุรุษได้รับทราบ จะถูกผีพรรบบุรุษทำให้ความเร้าร้อน กระสับกระสน มีความทะเลาะเบาะแวงกันในครอบครัว นอกจากพิธีนี้ มีทำพิธีปลูกกล้วยน้ำว่า[5] พร้อมทั้งมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการไหว้กะเบียนข้าว[6] ซึ่งพิธีกรรมนี้ หมายถึงความเจริญเติบโตหรือการบรรลุนิติภาวะเป็นผู้ใหญ่โดยมีอาวุโส(ภาษาเขมรเรียกว่า อาจารย์) คนหนึ่งให้โอวาทเกี่ยวกับข้าว ส่วนพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ และให้โอวาท กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติในขณะอยู่ในห่อ

พิธีกรรมอย่างหนึ่งในการเข้าห่อคือ ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด ศึกษาตำรับตำรา ไหว้พระสวดมนต์ เรียนวิชาการต่างๆ ทั้งวิชาชีพและวิชาแม่บ้าน ช่วงค่ำๆ คุณแม่เข้าไปให้โอวาท เล่านิทาน อ่านหนังสือให้ฟัง บอกวิธีในการเลี้ยงชีพอันชอบ ในวันพระมีอาจารย์ และพระสงฆ์เข้ามาให้โอวาทเป็นประจำ


ทำไมต้องเข้าห่อ  

           การเข้าห่อของผู้หญิงที่มีอายุเป็นสาวมีความหมายสำคัญที่สุดในชีวิตของผู้หญิงซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่สตรี เพื่อให้สมกับคำว่าสตรีเขมรเป็นสตรีที่มีจริยธรรมดี ศีลธรรมดี และคุณธรรมดี ดังนี้ การเข้าห่อนี้ สมัยโบราณนิยมทำกัน เนื่องจาก

–                   เพื่อให้ผู้หญิงที่เข้าห่อนั้นมีลักษณะเป็นกลสตรีเขมร โดยชาวเขมรให้คุณค่าความเป็นผู้หญิงที่ผ่านกระบวนการอบรอม รู้หลักวัตรปฏิบัติ ขนบธรรมเนียม ศีลจาริก การวางตนเป็นผู้หญิง และหลักจาริกสังคม

–                    เพื่อทำให้ผิวพรรณสวยงาม โดยปรกติ ผู้หญิงที่เข้าห่อ ห้ามทำงานหนัก ให้อยู่ภายในห่ออย่างเดียง โดยพ่อแม่จะหาเครื่องทาผิวที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นเขม้น เป็นต้น หรือเครื่องแต่งตัวสมัยใหม่เช่น แป้ง ครีม มาทาตัว เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม มีหน้าตาที่น่าชื่นชม อนึ่ง ผู้หญิงที่เข้าห่อ งดเว้นอาหารที่เกิดจากเนื้อทุกประเภท ยกเว้นอาหารที่เกิดจากผลไม้หรืออาหารสำหรับนักบวช ฉะนั้นเมื่อเธอออกจากห่อ ย่อมมีผู้มาสู่ขอ โดยอาศัยความสวยงามทั้งกายสมบัติและจิตสมบัติ

–                    การเข้าห่อของผู้หญิง หมายถึงวิธีสอนคนที่ให้รู้จักธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเจริญเติบโตทางสติ ปัญญา ทางกาย นิสัยใจคอ โดยสอนให้รู้จากการสำรวม ความไม่ประมาณ การระหมัดระวังในการแสดงออกทั้งการพูดจา ความคิดเห็น และเตรียมตัวเป็นแม่บ้าน หรือเป็นอุดมภรรยา ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบในครอบครัว

–                    เพื่อให้เกียรติแก่พ่อแม่ ที่มีโอกาสในการดูแลลูกพร้อมทั้งสั่งสอนให้รู้จักหลักการความเป็นผู้หญิง ในความเชื่อว่าผู้หญิงไม่สามารถตอบสนองคุณพ่อแม่ได้ ฉะนั้น ถ้าหากผู้หญิงคนไหน มีความประสงค์เป็นลูกกตัญญูต่อพระคุณท่าน ต้องเข้าห่อเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนกฎระเบียบต่างๆ ทั้งวิชาการ วิชาศาสนา เพราะผู้หญิงที่เข้าไปอยู่ภายในห่อต้องรักษาศีลแปด และมีวัตรปฏิวัติ เหมือนพระสงฆ์ หรือชีพราหมณ์

แต่การเข้าห่อนั้น มิใช่เข้ากันได้ทุกผู้หญิงเสมอไป ต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เช่น ผู้หญิงคนนั้น ต้องเป็นลูกคนโตในครอบครัว มีวัยเป็นสาว หมายความว่า เป็นผู้หญิงที่มีฤดูแรก พ่อแม่ต้องมีทรัพย์เพียงพอ และมีคนที่ช่วยการงาน เนื่องจากผู้หญิงที่เข้าห่อนั้น บางคนต้องอยู่ในห้องถึง 3 – 6 เดือน หรือบางคน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งเป็นปัญหาในครอบครัว โดยไม่มีคนที่ช่วยในทำการงาน

การเข้าห่อของผู้หญิงที่เป็นสาว ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด และมีกฎห้ามหลายอย่าง เช่น

–                   ห้ามพูดคุยกับผู้ชายที่แปลกหน้า ทั้งผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือญาติ แม้แต่พี่ชาย พ่อบังเกิดเกล้า

–                   ห้ามทำการงานหนัก หรืองานที่อยู่นอกจากบ้านหรือห้อง ยกเว้นการการฝึกทอผ้า เย็บผ้า หรืองานในห้องครัว

–                   ห้ามถือเหล็ก เนื่องจาก จะเป็นอันตราย เช่นบาดแผล เป็นต้น

–                   ห้ามออกนอกห่อ/ห้อง คือต้องอยู่ภายในห่อทั้งวัน ห้ามผู้หญิงคนอื่นนอกจากเพื่อนสนิทเข้า เพื่อเว้นจากการพูดคุยในทางผิตศีลธรรม เมื่อค่ำๆ จึงอนุญาตให้ออกจากห่อได้ เพื่อทำภารส่วนตัว

 

เข้าห่อแล้วได้อะไร

การเข้าห่อของผู้หญิงที่เป็นสาว ต้องมีเป้าหมายชัดเจน และเข้าใจคุณค่าของมันในการดำเนินชีวิต เพราะการเข้าไปอยู่ในห่อระยะ 3 – 6 เดือน ต้องเสียการงาน การทำมาให้กิน แต่สำหรับชาวเขมรโบราณ ให้ความสำคัญผู้หญิง หรือผู้หญิงเป็นใหญ่ในครอบครัว การที่ให้ผู้หญิงที่น่าเชื่อถือ น่าไว้ใจในการมอบหมายรับผิตชอบต่อหน้าที่ได้ ต้องมีการฝึกนิสัยใจคออย่างเคร่งครัดในกฎระเบียบ ถ้าผู้หญิงคนไหนไม่เคารพตามกฎระเบียบ เรียกว่าผู้หญิงไร้ศรีมงคล แม้แต่ความเป็นครัวเรือนก็ไม่เป็น[7] ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่าสตรีขาดลักษณ์ (Imperfect and virtueless woman) ฉะนั้น เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้หญิงที่เป็นสาวเข้าอยู่ในห่อ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตำรับตำรา วิชาแม่ครัว การแสดงอาการ ท่าที วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ความอดทน การเอาใจใส่ต่อบุตรธิดา สามี ความเป็นเพื่อนในเครือญาติ ให้ความดูแลต่อพ่อแม่ของตน และต่อพ่อแม่ของสามี วิชาการทอผ้า การปักการเย็บ การแต่งตัวเพื่อให้เหมาะสมเป็นสตรีเขมร การพูด การจาร สิ่งที่สำคัญคือกฎวินัยของสตรี[8]ซึ่งผู้หญิงทุกคนต้องศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติตาม

พิธีกรรมในการออกจากห่อ/ห้อง

 

หลังจากมีพิธีเข้าห่อ/ห้อง ไปตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้แล้วนั้น ตามขนมธรรมเนียมและความเชื่อ ต้องจัดให้มีพิธีกรรมออกจากห่อ ซึ่งพิธีกรรมนี้ เต็มไปด้วยความปลื้มปีติ ความเป็นเกียรติ และมีความสุขมากที่สุดของผู้ปกครอง เนื่องจากมีลูกสาวได้ทำหน้าทียกหน้าชูตา สิ่งที่สำคัญคือลูกสาวได้ยอมรับจากสังคมในท้องถิ่น พิธีกรรมการออกจากห่อ มีลักษณะที่ทำเหมือนพิธีแต่งงาน เช่น  พิธีตัดสฺล[9]”ตัดใบไม้” ซึ่งหมายถึง การจะได้ใบไม้มานั้น ต้องผ่านอุปสรรค์หลายด้าน ใบไม้ในพิธีกรรมนี้เป็นไม้ชนิดหนึ่งที่มีรสขมจัด เอามาบด                พิธีออกจากห้อง ให้ละเอียด เรียกว่าพิธีบด/ตำลัข[10] เพื่อเอามาทำฟัน เรียกว่าพิธีทำฟัน[11]ซึ่งในความเชื่อที่ว่า ผู้หญิงกว่าจะเป็นกลสตรี และมีคุณสมบัติเต็มพร้อมต้องผ่านพิธีกรรมทำฟัน เนื่องจากไม้ที่เอามาทำฟันมีรสขม เมื่อเอามาเคี้ยวต้องทนทุกข์โทรมานอย่างสาหัด ถ้าทนได้แสดงว่าผ่าน นอกจากพิธีกรรมนี้ ยังมีพิธีกรรมอื่นๆเกี่ยวข้องด้วย เช่น พิธีขุดแขญ พิธีทรงผีทรงร่างช้าง พิธีตอนรับพระอาทิตย์ พิธีเซ่นผูกค้อต่อแขน พิธีอาบน้ำ พิธีเลี้ยงตอนรับแขก แต่ละพิธีกรรมมีการละเล่นอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยความหมายแอบแฟงอยู่ หรือปริศนาธรรม พิธีต้อนรับพระอาทิตย์   โดยผู้ศึกษาไม่ได้ศึกษา ให้ละเอียดในเรื่องนี้

กฎระเบียบที่ผู้หญิงต้องศึกษาเล่าเรียนขณะที่อยู่ในห่อ “Code of conduct of woman​​​​

ประเทศกัมพูชาในสมัยโบราณ ค่อนข้างมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญคือผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้การปกครองและการให้โอวาทของพ่อแม่ เนื่องจากผู้หญิงในอนาคตจะเป็นผู้รับผิตชอบต่อครอบ ครัว ซึ่งหมายถึงความเป็นใหญ่ในการบริหารครอบครัว แม้ว่าประเทศค่อนข้างจะมีการพัฒนามาตายยุคตายสมัยก็ตาม วัตรปฏิบัติต่อกฎระเบียบในด้านจริยธรรม ที่สำคัญคือกฎระเบียบในครอบครัว (code of family) แม้แต่กฎของสังคม ต่อมา ภาคหลังประเทศพ้นจากสงครามการยึดอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสมีร่างกฎหมายซึ่งมีรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายทุกประการ แต่ตามการปฏิบัติแล้ว กฎหมายไม่สามารถทำอะไรได้ ความเหินห่างของผู้หญิงในสังคมยังมีอย่างเห็นชัด  หลังจากสงครามเย็น ในรัฐธรรมนูญ 1993 ที่สนับสนุนด้วยองค์การสหประชาชาติ (ปัจจุบันฉบับปรับปรุง 1999-2006 ) มาตรา 31 ว่า ชาย-หญิงมีสิทธิเท่าเทียบกันในทางกฎหมาย จึงทำให้ผู้หญิงมีสิทธิในทางสังคมมากขึ้น เช่นการเล่นการเมือง การรับเป็นข้าราชการ ซึ่งผู้หญิงบ้างคนมีโอกาสได้เข้าโรงเรียน แต่สำหรับผู้หญิงในชมชนท้องถิ่น บ้างครอบครัวไม่ให้ลูกสาวเข้าโรงเรียน บ้างคนเรียนได้เพียงอย่างสูงสุดประถมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจาก ยังมีความยืดถือกฎธรรมเนียมโบราณว่า ผู้หญิงไม่ต้องให้มีการศึกษามาก เรียนพอเขียนอ่านออกได้เท่านั่นก็พอ   แต่ที่สำคัญคือการอยู่ใต้กฎขนบธรรมเนียมของครอบครัว สังคม รู้จักการเคารพ เม (ผีพรรษบุรุษฝ่ายหญิง) เคารพ บา (ผีพรรษบุรุษฝ่ายชาย) มีสัมมาคารวะ ต่อผู้ที่มีอายุเป็นอาวุโส ก็พอ ซึ่งกฎนั้นได้แก่การห่อ หรือพิธีกรรมการเข้าห่อ นั่นเอง

สมัยโบราณ ขนบธรรมเนียมของผู้หญิงในภายใต้การดูแลในครอบครัว​​​ กระทั้งปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่า ในสังคมปัจจุบันจะมองว่าอยู่ใต้การเก็บกด ปิดกันสิทธิเสรีภาพของบุคคล แต่สำหรับความเชื่อแล้ว พิธีกรรมนี้มีความสำคัญ มาก เป็นเกียรติแก่ตนและครอบครัว ผู้หญิงที่จะได้รับเกียรติ การยอมรับจากสังคมได้ต้องมีการฝึกฝนตนอย่างเคร่งครัด ซึ่งหมายถึงการฝึกฝนในด้านศีลธรรม จริยธรรม ด้านจิตใจ โดยผู้หญิงจะกลายเป็นผู้ใหญ่ในครอบคัว เพราะฉะนั้น จึงมีใช้คำว่า ” เม”  กลายมาจากคำว่า “ แม่” ซึ่งเป็นหน้าหรือคำสดุดี ชูเกียรติ และถูกนำเอาไปใช้ในตำแหน่งต่าง ๆ ในข้าราชการบ้านเมืองในปัจจุบัน เช่น เมทัพ เป็นต้น

วรรณกรรมเรื่อง “ เมียเยง[12] “Our uncle “ได้กล่าวถึงสตรีสองประเภท คือสตรีที่มีคุณลักษณะถึงพร้อม และผู้หญิงที่ขัดคุณลักษณะ[13] “virtue of woman and virtueless of woman “จะเห็นได้ว่า สตรีที่มีลักษณะถึงพร้อมสามารถทำให้ทรัพย์สินและครอบครัวมั่นคงได้ ส่วนสตรีที่ขาดคุณลักษณะ แม้แต่อยู่ในสกุลครอบครัวมั่งคั่ง มีการศึกษาสูง หาขาดคุณสมบัติ ทรัพย์สินและครอบครัวจะไม่มั่งคง ซึ่งในภาษาเขมรเรียกว่า สตรีกะเบียนขาด[14] “The woman with holes in her basket” (Judy Ledgerwood :1995,120-125 )  เพราะ ฉะนั้น จึงมีคำโศลกเขมรว่า “[15] ทรัพย์สินจะมั่นคงได้เพราะผู้หญิงรู้จักการเก็บออม บ้านใหญ่โต เต็มด้วยความร่วมเย็น เป็นสุขได้เพราะผู้หญิงเป็นสตรีลักษณ์ หรือกุลสตรี ” “ Wealth is there because the woman knows ,how to save and be frugal; a house is comfortable and happy because the wife has a good character ” และสตรีเป็นผู้ที่สนับสนุนให้ผู้ชายได้เป็นผู้มีศักดิ์ศรี และช่วยเหลือทุกสิ่งทุกอย่าง[16] ” the rice seedling draws the dirt to it in clumps; the woman support the man ”(Karen Fisher-Nguyen:1995,100)

ดังที่ได้กล่าวมา ผู้หญิงจะมีคุณสมบัติ จริยาสมบัติในความหมายของสตรีเขมรนั้น ต้องประกอบคุณลักษณะถึงพร้องเป็นผู้หญิงเขมร ต้องอยู่ภายในห่อ (Shading ritual) เพื่อศึกษากฎระเบียบเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จริยธรรม และวิชาแม่บ้าน ดังในวรรณกรรมเรื่อง ทม – เตียว ที่เตียวเข้าอยู่ในห่อตามวาระที่กำหนดและได้ศึกษาเรียนรู้กฎระเบียบของผู้หญิง หรือฉบับสตรี[17] (Code of conduct of women) โดยฉบับของสตรี ในวรรคที่ 5 กล่าวถึงการพูดจาที่ต้องมีคำหวาน สุภาพ อ่อนโยน รู้จักพูดจากับญาติ หรือผู้คนทั่วไป[18] เพราะเหตุที่จน จนเพราะในคำพูดจา อาการทาที อนึ่ง ผู้ที่เข้าไปอยู่ในห่อ / ห้อง ต้องฝึกนิสัยในการแสดงอาการทาที โดยคติโบราณว่า โตเป็นสาวแซ่ อย่าเล่นเหมือนเด็ก เห็นหนุ่มเห็นชายแสดงอาการให้ท่าให้ที เปิดช่องทางให้เข้า ต้องมีมารยาทในคำพูด การหัวเราะ[19] มีความขยันเพียรในการงาน และห้ามเที่ยวบ้านคนอื่นซึ่งเป็นเหตุที่ทำขาดการงาน

นอกจากวิธีสอนให้รู้การแสดงทาที มารยาท การพูดจาแล้ว ยังมีกฎที่ต้องให้เรียนรู้และปฏิบัติตาม ถ้าผู้หญิงคนไหนปฏิบัติตามได้ จะเป็นผู้ที่เลิศแห่งสตรีซึ่งกฎเหล่านั้นได้แก่การเคารพมารดาบิดา กฎเคารพต่อสามี กฎเคารพญาติที่อยู่ใกล้เคียง โดยโบราณจะเทียบดังไฟ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ไฟนี้จะเผาให้ไหม้ ทำให้เร้าร้อนทั้งภายในและภายนอก ซึ่งได้แก่ไฟสามอย่าง

ไฟที่หนึ่ง คือ ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ซึ่งหมายถึง ปัญหาที่เกิดภายในครอบครัวของตน เช่น การทะเลาะเบาะแวง หรือความขัดแย้งอย่านำออก ไปเผยแพร่สู่สาธารณะชนให้เขาได้รับทราบ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เขานินทา ตำนิครอบครัวของตน อนึ่ง เมื่อเรื่องหรือปัญหาในครอบครัวคนอื่น อย่าไปตำนิเขา หรือนำเอามาเล่าสู่ในครอบครัวของตน ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้มีความระแวงกันกับสามี หรือคนในครอบ ครัว เพราะฉะนั้น ไฟนี้ เป็นไฟไม่มีควันเมื่อไหม้แล้วยากที่จะดับได้ [20]

ไฟที่สอง คือคุณมารดาบิดา ที่บุตรธิดาต้องให้ความดูแล เคารพนับถือ เชื่อฟัง ปฏิบัติตาม ไม่แสดงอาการที่เป็นสาเหตุให้ท่านเสียใจ หรือเป็นทุกข์ โดยขณะอยู่ในห่อ ผู้เฒ่าคนหนึ่งจะสอนวิธีให้รู้จากคุณของมารดาบิดา และวิธีตอบแทนคุณของท่านในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามหรือไม่ให้ความดูแลท่าน โบราณจะเทียบดังไฟที่ทำเร้าร้อนภายในใจ ถูกสังคมตำนิ[21]

ไฟที่สาม คือสามี ซึ่งผู้หญิงที่เป็นอุดมภรรยา ต้องรู้จักวัตรปฏิบัติต่อสามี ไม่ให้มีความขัดใจกัน การพูดจาให้รู้จักฐานะของตน แม้มีคำพูด หรือการขัดแย้งกันเล็กน้อย ให้สู่ทนต่อคำพูด ไม่เถียงกัน ซึ่งเป็นสามเหตุก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแวง เมื่อมีคำพูดที่ขัดแย้งกัน ให้เธอหาคำพูดที่อ่อนหวาน พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก่อให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข มีสิ่งใดที่ขัดแย้งกันให้ปรึกษาหาเรือกันจนกว่าปัญหาจะลุล่วงได้[22]

นอกจากศึกษาฉบับเหล่านี้ ผู้หญิงที่เข้าห่อยังปฏิบัติต่อกฎ ขนบธรรมเนียมอื่น ๆ อีก เช่นการเลี้ยงชีพด้วยชอบ การปฏิบัติชอบต่อสามี(สงเคราะห์สามี) การอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเป็นอาวุโส รู้จักการปฏิบัติต่อเพื่อนบ้าน รู้จักวิธีเลี้ยวบุตร เลี้ยวพ่อแม่ และข้อวัตรปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา  เช่น เรียนรู้การทำวัตรสวดมนต์ ฝึกแล อารัตนาศีล 5 , 8, 10 เทศน์ อ่านนิทานชาดก วรรณกรรมนิทานโบราณ นิทานเพื่อนบ้าน เป็นต้น

ผลกระทบต่อพิธีกรรมการเข้าห่อ

 

พิธีกรรมการเข้าห่อ/ห้อง เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้หญิงเขมรที่มีวัยเป็นสาวในสมัยโบราณ (ปัจจุบันมีน้อย) ซึ่งเป็นการให้โอกาสแก่ผู้หญิงได้ศึกษาเล่าเรียน  ฝึกวิชาแม่บ้าน ฝึกกฎ ระเบียบทางจริยธรรม ศีลธรรม พิธีกรรมนี้เริ่มเสื่อมความนิยมในสมัยประเทศเขมรตกอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส ที่บีบบังคับ ขุมขู่ แก่คนไหนที่ปรารภในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อ และศาสนา ถ้าหักมีใครแอบทำพิธีกรรม เมื่อจับได้จะต้องเสียภาษีให้ทางการเป็นสิบ ๆ เท่า

สมัยการปกครองของเขมรแดงหรือพล พด “ตา สลุดสอ” ทั้งพิธีกรรมทางความเชื่อ ศาสนา มีการปิดกัน ปฏิเสธไม่ให้มี โดยผู้ปกครองของประเทศจะกล่าวหาว่า เป็นสิ่งงมงาย สอนคนให้เกียจคร้าน ไม่มีความมุ่งมันในการทำงาน พิธีกรรมและความเชื่อในสมัยนั้นตกอยู่ในสภาพสุญญตาจากสังคม หลังจากยุคแห่งการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเปิดโอกาสให้มีพิธีกรรม และความเชื่อ ศาสนา แต่ต้องอยู่ในขอบจำกัด และต้องขออนุญาตจากทางการ พิธีกรรมการเข้าห่อเริ่มมีการฝื้นฟูอีกครั้ง แต่มีน้อยนัก เนื่องจากผู้คนให้ความสำคัญเรื่องปากท้องมากกว่า

รัฐธรรมนูญแห่งราชาณาจักรกัมพูชา 1993 (ฉบับปรับปรุงเพิ่งเติม 1999 , 2006) สนับสนุนโดยองค์การสหประชาชาติ มาตรา 43 ,68 .69 ให้สิทธิเสรีภาพในเรื่องพิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนา การศึกษา ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีสิทธิได้เข้าไปศึกษาเล่าเรียนหนังสือมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในห่อ เนื่องจากในหลัก สูตรการศึกษามีบรรจุการเรียนการสอน พิเศษคือการบรรจุกฎระเบียนผู้หญิง/ชาย วรรณกรรมเรื่องทม-เตียวในหลักสูตรนี้ด้วย ซึ่งทำให้ผู้หญิงที่เข้าไปศึกษาเล่าเรียนได้เข้าใจในกฎระเบียบนี้มากว่าที่ใช้ระบบการท่องให้จำในห่อ/ห้อง แล้วไม่มีการตีความหรือขยายความให้เข้าใจกระจ้างชัด อนึ่ง ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การยั่วยุของสื่อ ทำให้ผู้คน ที่สำคัญ คนที่อยู่ในชนบทเข้าไปหางานทำในตัวเมืองหลวงมากขึ้น ซึ่งทำให้ลืมในพิธีกรรมและความเชื่อนี้ไปโดยบริยาย

พิธีกรรมและความเชื่อเรื่องการเข้าห่อ/ห้องในปัจจุบันเปรียบเหมือนดังเรื่องนิทานหนึ่งในสังคม ที่ผู้คนเล่าสู่กันฟัง ซึ่งบ้างคนไม่เคยทั้งรู้จาก บ้างคนเคยได้ฟังแต่ไม่เคยได้เห็นได้สัมผัส แม้แต่สื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ พยายามออกอากาศให้ผู้คนได้เรียนรู้และเข้าใจในคุณค่าของพิธีกรรม และความเชื่อนี้ แต่อย่างไรก็ตาม แต่ไม่สำคัญเท่ากับปากท้อง

 

บทสรุปและเสนอข้อแนะ

พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับผู้หญิงที่เข้าห่อ/ห้อง เป็นพิธีหนึ่งที่มีความสำคัญแก่ผู้หญิง เพื่อขัดเกล้า ฝึกฝนนิสัยใจคอ ให้อยู่ในโอวาทของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎสังคมหรือจริตสังคม เนื่องจากผู้หญิงเป็นแม่ของโลก ที่ต้องมีความประพฤติปฏิบัติดี มีวินัยดี  บริบูรณ์ด้วยหลักศีลธรรม จริยาธรรม และคุณธรรม

การศึกษาครั้งนี้ มีปัญหาหลายด้าน ทั้งการสื่อ การค้นคว้าหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกประการหนึ่ง ผู้ศึกษาไม่ได้ทำสมภาษณ์กับผู้ที่เข้าห่อ และมีผู้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมเพื่อสื่อให้เข้าถึงความรู้สึก ฉะนั้น จึง ขอเสนอแนะผู้ที่มีความประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อของผู้หญิงเขมรในการเข้าห่อ ให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมเชิงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้หญิงในสังคม

บรรณานุกรม  

 

พุทธศาสนบัณฑิตสถาน พจนานุกรมเขมร,พิมพ์ครั้งที่ 5 พนมเปญ ,2511

พุทธศาสนบัณฑิตสถาน โบราณนิทานเขมรเกี่ยวข้องทำเนียมวัฒนธรรม เล่มที่1​​ พนมเปญ, 1994

ตรึงเงีย ,ประวัติศาสตร์เขมร ,พนมเปญ ,1973

กระทรวงอบรม เยาวชนและกีฬา, ฉบับอื่นๆ ,พนมเปญ ฯ อบรมการพิมพ์ ,2001

ศ.เมียจ บุณฺณา พิธีเข้าข่อของผู้หญิงที่เป็นสาว ,พนมเปญ ฯ สำนักพิมพ์องค์โก,2007

Peter Harris and others, Zhou Daguan: A Record of Cambodia the Land and its People, Chiang Mai, .O.S Printing House, 2007

Cambodian Culture since 1975 homeland and exile, Judy Ledgerwood, Gender Symbolism and Culture Change: Viewing the Virtuous Woman in the Khmer Story “Mea Yoeng”, 2ed. USA, 1995

Cambodian Culture since 1975 homeland and exile, Karen Fisher Nguyen, Khmer Proverbs: Images and Rules, 2ed. USA, 1995

Ven. Botumthera Som, Tum Teav(Kh) ,George Chigas and Others,Tum Teav:A Translation and Analysis of Cambodia literary Classic ,Documents Center of Cambodia ,Phnom Penh ,2005 available http://www. docstoc.com/docs/2537628

ซุน จันทร์ดิบ ความเชื่อ ขนมธรรมเนียม, กะเบียนข้าว Available http://khmerenaissance. info/ beliefs_ custome /00 18_srove_kanchoe.html (วันที่ 12 มกราคม 2552)

สมภาษณ์ไม่เป็นทางการกับประชาชนในอำเภออันลงแวงจังหวัดอุดอเมียนเจย เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2552

สมภาษณ์ไม่เป็นทางการกับประชาชนในจังหวัดกอมโพด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552


[1]កោះគោកធ្លក

[2] ពិធីចូលម្លប់

[3] Teav,who was in the shade………(Stanzas 66 ,P.40)

[4] . She left her room and bowed down before her mother .Teav said “Oh, Mother! Mother.

“Indulge me a moment as ‘report some news .Our people are far from any temple. (Stanzas 67, p.41)

His eyes glanced toward the doorway. He noticed Teav standing outside pacing back and forth,

Flitting in and out of her room. (Stanzas 67, p.42)

[5]พิธีปลูกกล้วยน้ำว่า  โดยเอากล้วยที่มีมีอายุไม่มากนัก ไปปลูกในขณะที่ให้ลูกสาวเข้าห่อ เนื่องจากมีความเชื่อว่าปลูกกล้วยเหมือนการเลี้ยงดูลูก ที่ต้องระหมัดระวัง ทั้งการให้การศึกษา การอบรมบ่มนิสัยในทางด้าววิชาการ และด้านศีลธรรม จริยธรรม ฉะนั้น ต้นกล้วยนั้น ต้องมีการดูแลอย่างพิเศษ จนกว่าต้นกล้วยนั้นออกผล แล้วเอามาให้ลูกสาวบริโภคในขณะที่ออกจากห่อ ครอบตามการกำหนด

[6] พิธีไหว้กะเบียนข้าว มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ในพิธีกรรมการเข้าห่อนี้ จะทำสามขั้นตอน ตอนแรก ในช่วงเข้าห่อ ประมาณ หนึ่งทุ่ม ที่สองเมื่อผู้หญิงงดเว้นการรับประทานอาหารที่เป็นมังสาหาร(เนื้อสัตว์ทุกประเภท) ที่สาม เมื่อออจากห่อ

[7] ស្ត្រីឆ្វែលកន្ដុយចង្រ្កានមិនជុំ

[8] ច្បាប់ស្រី[8] ពិធីកាត់ស្លឹក[8] ពិធីបុកល័ខ[8] ពិធីធ្វើធ្មេញ ​

[12] មាយើង​ Mea Yoeng

[13] ស្រីគ្របលក្ខណ៍និងខាតលក្ខណ៍ Srei kruap leakkh and srei khat leakkh”

[14] ​ស្រីកញ្ចើធ្លុះ Srei Kanhchoe thluh

[15] ទ្រព្យគងត្បិតស្រីចេះសន្សំចៃទុក ផ្ទះធំស្រណោះត្បិតលក្ខណ៍ជា Troap Kuang tbet srey cheh samchai tuk pheah thum sranok tbet leakkh srey chea

[16] សន្នាបយោងដី​ ស្រីយោងបុរស Samnap yong dey srey yong bros

[17] ច្បាប់ស្រី Chbap Srei

[18] ហៃកូនស្រីស្ងួនមាសម្ដាយ​ ក្រណាស់នាងអាយ តាមដោយច្បាប់ស្រី

ក្រមួយមិនបានសំដី ពាក្យទន់តិចនៃ ឧ្យញាតិចូលចិត្ត៕

[19] ថាលេងដូចក្មេងញ៉េះញ៉ោះ ឃើញប្រុសកំឡោះ សសៀរចូលជិត​

សើចព្រៀងបញ្ឆៀងមិនគិត ប្រុសព្រើសបានចិត្ត វាហ៊ានដោយសារ៕

[20] ភ្លើងក្រៅកុំនាំទៅក្នុង ឱយឆេះបំផ្លុង រឹងផ្លុំបង្កាត់ ។

ភ្លើងក្នុងមិនប្រុងប្រយ័ត្ន នាំមកបង្កាត់ ឱយឆេះឯក្រៅ ។(​​​paragraphs40, P.20 )

[21] ភ្លើងមួយនោះឱយរក្សា គឺគុណមាតា បិតាស្ងួនគ្រង។

ឱយនាងធ្វើដោយគន្លង ប្រណិប័តន៍កុំឆ្គង នឹងមា្ដយឪពុក។(​​​paragraphs 45. P.20 )

[22] ភ្លើងមួយនោះគម្ដែងក្រឡា គឺប្ដីអាត្មា ឋិតឋេររួមរ័ក្ស ។

ឱយនាងប្រណិប័តណ៍ជឿកជាក់ កុំធ្វើឱយអាក់ ឱយអន់ចិត្តប្ដី ។(​​​ paragraphs 50​,P.20 )

About SOTHEA YON

Siem Reap Province, Cambodia Education: BA: Public Administration MA: Buddhist studies Like: Humanitirian work Research Tel: +85516401645 Email: sesimereap@gmail.com https://www.facebook.com/sothea.yon

Posted on January 11, 2014, in Articles, Daily Activities, Information/News, Theses. Bookmark the permalink. Leave a comment.

Leave a comment