Daily Archives: March 8, 2013

เปรียบเทียบแนวคิดเรื่อง “ความว่าง” ระหว่างพุทธทาสภิกขุกับดี.ที.ซูซุกิ

Comparison the Concept on “Emptiness” of Buddhadasa Bhikkhu and Dr. D.T.Suzuki

โดยพระสุเธีย สุวณฺณเถโร (sothea yon)

download file PDF (ขออุทิศชิ้นงานนี้แด่คุณลุง    คุณอา  และน้องสาวที่ได้ลาจากโลกนี้ไป)

 

คำนำ

ท่านพุทธทาสภิกษุเป็นพระภิกษุผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในพุทธพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในปัจจุบัน เป็นพระรูปแรกในประเทศไทยที่กล้าปฎิรูปและฟื้นฟูแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในแง่ปริยัติ และได้ตีความคำสอนของพุทธศาสนาในรูปแบบใหม่ ส่วนด้านปฏิบัติ ท่านได้ริเริ่มการกลับไปใช้ชีวิตของหมู่สงฆ์แบบครั้งพุทธกาล งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชุด”ธรรมโฆษณ์” ของท่านนั้นเป็นผลงานทางความคิดอันยิ่งใหญ่ เป็นงานริเริ่มสร้างสรรค์ที่ตั้งบนพื้นฐานของแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและเป็นงานชิ้นสำคัญหากสำเร็จสมบูรณ์จะมีความยางมากกว่า”พระไตรปิฎก”ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเสียอีก

ท่านเป็นคนชาวสุราษฐร์ธานีแห่งประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เชื่อเดิม เงื่อม พานิช บวชเมื่ออายุ 20 ปี นามฉายาว่า “พุทธทาส อินทฺปญฺโญ” แล้วท่านชอบพอใจกับคำว่าพุทธทาสนี้มาก ดังท่านได้กล่าว ว่า “ข้าพเจ้ามอบร่างกายและชีวิตนี้ถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุดังว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงชื่อว่าพุทธทาส” ท่านใช้เวลา 60 ปีในการศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติธรรมในศูนย์โมกขพลาราม แนวคิดที่โดดเด่นที่สุดของท่านคือ “ความว่าง ว่างจากตัวกู ของกู”

ส่วนไดเซทสึ ไททาโร ซูซูกิ  (鈴木 大拙)    เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413)  เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) อายุ 95 ปี  เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักปฎิบัติ ที่มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนานิกายเซน เป็นผู้แปลวรรณกรรมภาษาจีน ญี่ปุ่น และสันสกฤต มากมายหลายเล่ม และเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้นำและเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนจากโลกตะวันออก สู่โลกตะวันตก แต่ท่านไม่ใช่พระ เป็นผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธ ศาสนามหายาน นิกายเซน เนื่องจากพื้นฐานชีวิตของท่านส่วนมากใช้ในวัดและค้นคว้าคำสอนและหลักการปฏิบัติของนิกายเซน แนวคิดหนึ่งของท่านที่โด่งดั่งเหมือนท่านพุทธทาสภิกษุนั้นคือความเป็นซาโตริ(Satori) ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติและเข้าถึงเซน ซึ่งวิธีเข้าถึงซาโตรินั้นต้องเดินทางตามมรรคแห่งความว่าง  “ Emptiness path” คือนอกจากความว่างแล้วจะไม่มีอะไรให้ว่าง ฉะนั้นควรเข้าใจความว่างแห่งความว่าง

puttatas

เปรียบเทียบระบุความคิดเรื่อง “ความว่าง”

                การมองสภาวธรรมแห่งความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง ระหว่างท่าน ซูซุกิ กับท่านพุทธทาส ผู้ทำรายงานมีความคิดเห็นว่ามีความใกล้เคียงกันมากทีสุดแต่ต่างกันโดยการใช้ถ้อยคำเพื่อสื่อสารในการถ่ายทอด เช่น

ท่านซูซุกิ ใช้คำว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นหรือเป็นอยู่ “not a thing is” (D.T.ZUSUKI.1986,31) และมองสรรพสิ่งเป็นสูญญตา หมายความว่า เห็นสภาวธรรมชาติคือเห็นความว่างเปล่า เป็นการมองโดยปัญญา ส่วน

ท่านพุทธทาส ใช้คำว่า ความว่างเปล่า “Emptiness” คือการว่างโดยไม่ยึดมั่นเป็นตัวเรา ตัวเขา (Buddhadasa, Bhikkhu: 1984,36) ปูชนียบุคคลทั้งสองท่านนี้ยังได้แสดงทัศนะที่มีต่อสภาวธรรมแห่งความว่างเปล่าไว้ดังนี้

D.T.Suzukiได้กล่าวถึงความว่างเปล่าโดยอ้างในคัมภีร์ Prajnaparamitahridaya ว่า โอ..สารีบุตร ,สรรพสิ่งทั้งปวง ล้วนแต่เป็นลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งว่างเปล่า ไม่มี เกิด ไม่มีทำลาย ไม่มีมลทิน ไม่มีความบริสุทธ์ ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ อย่างไรก็ตาม สารีบุตร ความว่างเปล่า ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่สัญญา ไม่ใช่สังขาร ไม่ใช่วิญญาณ  ไม่มีการตรัสรู้ ไม่มีการบรรลุ เพราะไม่มีการตรัสรู้ ในใจของพระโพธิสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ปรัชญาปารมิตา ไม่มีความเสื่อม  เป็นแดนห่างจากทิฐิ เพราะเป็นที่สุดแห่งนิพพาน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน อาศัยอยู่ปรัชญาปารมิตา เป็นการมองด้านปรัชญาของ พระมหาโพธิสัตว์ ที่หลักปฏิบัติสูงสุดคือปรัชญาปารมิตา เป็นสิ่งที่เหนือการว่างเปล่า (D.T.ZUSUKI,1935)

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง กถาของฮุย เหน็ง (เหว่ย หลาง) ไว้  (Gatha by Hui-neng)

There is no Buddhi-tree                             ไม่มีต้นโพธ์

No stand of mirror bright.                         ไม่มีแสงเงา

Since all is void                                            ทุกอย่างไม่มี

Where can the dust a light?       ความเศร้าหมองจะเกิดขึ้นแต่ไหน ?

กถาแรก ที่ซูซุกิได้ทำความเข้าใจในสรรพสิ่งได้ คือ “ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น” “ Not a thing is”

หมายความว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้นอกจากความว่างเปล่าที่ต้องทำให้รู้กระจ่าง คือ เห็นสภาวธรรมตามแบบธรรมชาติ (seeing into one’s self–nature which self-nature) ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น นั้นเพราะ เป็น ความว่างเปล่า(สูญญตา) เห็นกระจ้างซึ่งสภาวธรรมตามธรรมชาติ คือเห็นความว่างเปล่า ( seeing into nothingness) เห็นความบริสุทธิ์ แห่งธรรมชาติและเห็นภายในสัจธรรม ตามความเข้าใจปรัชญาเซน ทั้งสาม คือ ศีล ญาณ ปรัชญา(ฉ) การเห็นในสิ่งที่เห็นตามแห่งธรรมชาติ เป็นการเห็นไม่ถือตัว มิใช่ตัวตน(จิต) (no thought)

ซูซุกิ  ได้เอาบทสนทนาธรรมของ อาจารย์เซนสองท่าน คือท่าน Chang – Yen และท่าน  Shen- hui  เพื่อแสดงถึงให้เห็นความว่างว่า

Chang–Yen :  ท่านอาจารย์กล่าวถึง ความมิใช่ความคิด หรือไม่ใช่จิต ผู้คนตั้งอยู่ในกฎ(ควบคุม)ของตน ข้าพเจ้าขอถามว่า มีอะไรที่เป็นความเชื่อมโยงสภาวะจริงแห่งความมิใช่จิต หรือไม่

Shen-hsui       :  ข้าพเจ้ามิได้กล่าวถึงความมิใช่จิต เป็นสภาวจริง ทั้งความไม่เป็นก็หาไม่ ทำไมเมื่อ     ข้าพเจ้ากล่าวว่าเป็นสภาวะจริง มันจะไม่อยู่ตามความคิดของผู้คน ที่พูดเรื่องความ จริง แต่ถ้ากล่าวว่า มิใช่ความจริง มันจะเป็นตามความ คิดของผู้คน ที่ว่าไม่เป็นความจริง ฉะนั้น ควรว่า มิใช่จิต คือทั้งความจริง และความไม่จริง

Chang–Yen  :  ท่านอาจารย์ จะเรียกอย่างไร

Shen-hsui     :  จะไม่เรียกอะไรทั้งสิ้น

Chang–Yen   :  ถ้าฉะนั้น จะเป็นอย่างไร

Shen-hsui      :  ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้น ที่ข้าพเจ้าพูดว่า มิใช่จิต นั้นเพราะมันอยู่นอกเหนือที่เราจะกล่าวถึงเหตุ ผลคือมีคำถามปรากฎขึ้นและเกี่ยวข้อง  ถ้าไม่มีคำถาม ก็ไม่มีการกล่าวถึง เหมือนแสงสะท้อน ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฎ ก็ไม่เห็นภาพติด   เมื่อกล่าวว่าเห็นอยู่ภายใน เพราะมีสิ่งที่ สะท้อนมา

Chang–Yen  :  เมื่อกระจก ไม่ส่งแสง แสงนั้นก็หายไป มิใช่หรือ

Shen-hsui     :  เมื่อข้าพเจ้ากล่าวถึงสรรพสิ่งที่นำมาและแสงนั้น ตามจริงแล้วแสงนี้เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกของธรรมชาติ กระจกไม่มีอะไรที่ว่ามี ไม่มีของสรรพสิ่ง

Chang–Yen  :  ท่านอาจารย์ว่า ไม่มีรูป(ตัวตน) อยู่นอกเนือจากกล่าวถึง สภาวะแห่งความจริง และความไม่จริง   ทำไมท่านอาจารย์กล่าวถึงแสง แสงนั้นคืออะไร

Shen-hsui  :  ที่เข้าพเจ้ากล่าวถึง แสงนั้น เพราะว่า กระจกทำให้มีแสง และสภาวะแห่งธรรมชาติ คือแสง(สะท้อน) จิตปัจจุบัน อยู่ในสภาวะบริสุทธิ์ มีสภาวะแห่งแสงอยู่ภายในคือปรัชญา ที่ส่งแสงไปทั่ว โลก หาที่สิ้นสุดไม่

Chang–Yen   :  สภาวะนี้ เมื่อไรจะได้บรรลุ(เห็น)?

Shen-hsui      :  จงดูภายในสภาวะที่ว่างเปล่า เมื่อเห็นสภาวะว่างเปล่าแล้ว จะเห็นทุกสรรพสิ่ง  แม้แต่เห็น ก็ไม่นับว่าเป็นสรรพสิ่ง

Chang–Yen   :  เมื่อไม่นับว่าเป็นสรรพสิ่ง จะมีการเห็นได้อย่างไร

Shen-hsui       :  เรียกว่า เป็นการเห็นความว่างเปล่าอยู่ภายใน นี้เป็นการเห็นความจริง และเห็นความจริงภายนอกด้วย

การสนทนาธรรมของอาจารย์เซนทั้งสองเป็นการแสวงหาความจริงแห่งสัจธรรมที่เป็นความว่างโดยเอากระจกเป็นสื่อในบทสนทนาแต่เมื่อไรกระจกมีสิ่งสกปรกติดอยู่จะไม่สามารถมองเห็นภาพที่สะท้อน  อย่างไรก็ตาม สภาวะจิตก็เหมือนกันฉะนั้น

                อาจารย์เซนรูปหนึ่งได้ส่งจดหมายไปหาพระมหาสังฆราชเจ้าทั้งห้ารูป ว่า

                                      This Body is the Bothi-tree                       กายนี้เป็นต้นโพธิ

The Mind is like a mirror bright,            ใจนี้เป็นเหมือนแสงกระจก

Take heed to keep it always clean           จงหมั่นเพียรขัดอย่างสม่ำเสมอ

And let not dust collect upon it.              อย่าให้มีฝุ่นละอองติดได้

พระอาจารย์เซน เสียะ(Shen-hsiu)ได้ประพันธ์กถา

                                      Our body is the Bothi-tree                        กายของเรานี้ เป็นเหมือนดั่งต้นโพธิ์

And our mind a mirror bright, ใจของเราเป็นเหมือนดั่งแสงกระจก

Carefully we wipe them hour by hour จงหมั่นขัดเป็นประจำ

And let no dust alight.                                ไม่ให้ฝุ่นละอองติดได้ 

               DT-Suzuki

ซูซุกิ  กลับมองสภาวะธรรมภายใน(จิต) ว่า

                “ฉันรู้สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว”  การรู้การเห็นนี้ มิใช่จิตดที่เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่เป็นการตื่น มิใช่จิตหรือสภาวะของสัตว์ มิใช่ความเป็นมาของสภาวะจิตรวมทั้งสมาธิ มิใช่ความปีติของจิตที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเห็นที่เขาเห็นนั้น มิใช่มีความหมายว่า เขารู้ในสิ่งที่เขาเห็นหรือรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในปีต่อไป

การรู้การเห็นนี้ เขาไม่จำเป็นต้องสร้างพลังทั้งสิ้น เพียงแต่ทำให้รู้ปกติ อะไรที่ได้ในขณะนั้น ไม่จำเป็นต้องแยกออกจากกัน เพียงแต่ยังภายในให้รู้โดยไม่การจำกัดกาล  เมื่อเห็นแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

แต่การเห็นความจริงแห่งสภาวธรรมในชั่วพริบตานั้นไม่พอ ต้องให้จิตนิ่ง และตื่นให้ลึก มากว่าทำให้นิ่งป็นพื้นฐาน ดยรู้ว่าไม่มีการพัวพันจากอื่นใดการทำให้รู้ลึกเกี่ยวพันธ์กับพลัง ของตัวเราแต่ในขณะนั้นก็ เป็นปกติตามธรรมชาติ  การเติบโตจากความเป็นเยาว์ ทำให้รู้กายตัว เองมากขึ้น  การที่พบซึ่งกายนี้ ไม่ใช่ พื้นฐานแห่งธรรมชาติที่ต้องใช้ในขณะนั้น  แต่ว่าต้องทำให้เกิดขึ้น ทำให้รู้แล้วรู้เล่าว่า ไม่มีอะไรผูกพัน ไม่มี ที่จะให้ไป ไม่มีอะไรที่จะทำเกิดได้  เหมือนดังที่รักษาความรู้เฉพาะหน้า(ใบหน้า) คือเซนปล่อยว่าง ไม่ใช่(ใบ)หน้าของเรา ไม่ใช่รู้ เพียงแต่เป็นสภาวะที่อยู่นิ่งตรงกลาง อยู่ตรงหัวใจ ค้นหาสภาวะธรรมชาติ และผลแห่งวิถีชีวิตนี้

แม้ว่าไม่พบสภาวะที่อยู่ภายในและไม่มีใครทำให้กิดขึ้น แต่ได้พบการกระทำมากมายจาการไม่ กระทำ การนิ่ง การไม่นิ่ง ละเอียดไป ๆ แต่ละหนทางจะพบว่าที่ผ่านมา การครองชีพจากสิ่งที่ไม่รู้  ทำให้มีปัญญาอันประหลดเกิดขึ้น เรียกว่า  “ความเป็จริง นั้นคือความว่าง

พุทธทาส  : มองว่า

                การยึดติดในสรรพสิ่ง ตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ทำให้เป็นทุกข์ การรู้จากการว่างเปล่า ปล่อยการยึดติด เป็นการว่างอย่างยิ่งและเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นคือนิพพาน (Nibbana is the supreme emptiness and Nibbhana is the suppreme happiness)

                ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควรยืดมั่นถือมั่น (No Dhamma whatsoever should be grasped at or clung to ) การปล่อย จากการยึดมั่น ถือมั่น โดยการถือพระรัตนไตร การให้ทาน การรักษาศีลการทำ สมาธิ ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นโดยการเห็นสัธรรมทั้งวง เป็นสภาพเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน

                ความว่างเปล่า หมายถึงการไม่มีความรู้สึกว่าเป็นกู หรือของของกู การปล่อยว่างจากการยึดมั่นถือมั่น เป็นกู  ของกู เรียกว่าการว่างเปล่า จิตว่างเปล่า ปล่อยว่างจากความรู้สึกเป็นกู ของกู ทั้งหยาบและละเอียด ถ้าจิตปล่อยว่างแล้ว จากการจำกัดความที่เป็นตัวตน ซึ่งพูดว่า จิตว่างเปล่าหรือปล่อยว่าง ตามธรรมเนียมชาวพุทธบางคนพูดว่า จิตว่างเปล่า ความว่างเปล่าเป็นจิต การว่างเปล่าเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะคือการว่างเปล่า การว่างเปล่าเป็นธรรมะ ธรรมะคือการว่างเปล่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมเป็นอันเดียวเรียกว่าว่างเปล่า (Buddhadasa, Bhikkhu: 1984, 77)

ความเป็นตัวกู ของกูเกิดขึ้นจากเมื่อยึดมั่นถือมั่นภายในจิต จะไม่เห็นความว่างเปล่า เห็นแต่ว่าเป็นของกู เพราะการยึดมั่นถือมั่นจึงทำให้อวิชาและกิเลสกรรมเกิด เมื่ออวิชาและความไม่รู้มีในใจ ความยึดมั่นเกิดขึ้นเป็นตัวกู ความทุกข์ เกิดขึ้นโดยการยึด คือยึดอุปาทานขันธ์ห้า(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (Buddhadasa, Bhikkhu:1984, 81)  ปล่อยการยึดได้ ทุกข์ดับ เมื่อไม่มีสัตว์ มนุษย์ ธาตุ ขันธ์ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มี มีแต่ความว่าง ความว่างจากตัวตน เมื่อไม่ยึดมั่น ถือมั่น ความทุกข์จะไม่เกิดขึ้น นี้เป็นผลแห่งการรู้ การเข้าใจ รู้ภายใน(ปัญญาเห็นแจ้ง) ในสัจธรรม แห่งอุปาทานขันธ์ (Buddhadasa, Bhikkhu: 1956, 91) ตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (Prah Saneh Dhammavaro: 2005, 17)

 

สรุปแนวคิดสำคัญของท่านพุทธทาส และ ซูซุกิ

                ท่านพุทธทาส มองสภาวะธรรมเป็นสิ่งต้องว่างเปล่า โดยไม่ยืดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ เพราะเมื่อมีการยึด มั่นถือมั่นจะทำให้เป็นทุกข์ แต่เมื่อปล่อยว่าง การยึดมั่นถือมั่นจะได้บรรลุแห่งสัจธรรม เรียกว่า “วิมุตติ”  ส่วนซูซุกิ มองสภาวะธรรมเป็นการว่างเปล่า(สูญญตา)ในแนวทางที่คล้ายกัน เป็นการมองในตัวสภาวะธรรมชาตภายใน โดยการเข้าถึง ธรรมชาติ คือการเข้าถึงความว่างเปล่า ตามปรัชญาเซน คือเมื่อไปถึงปรัชญาแล้ว จะบรรลุสภาวะธรรมที่เป็นแดน เหนือความตายคือ “ปรัชญาปารมิตา”

                จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลงานของ ดร.ซูซุกิ (D.T.Suzuki) ทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้และมีความคิดเห็นต่อผลงานของ ดร.ซูซุกิ หลายประการ ดังนี้

ดร.ซูซูกิ เป็นผู้ที่มีความพากเพียร อุตสาหะ และเป็นผู้มีความสามารถ เมื่อมองย้อนเวลาไปร้อยกว่าปีที่แล้ว ในสังคมญี่ปุ่น  และบิดาเสียชีวิตตั้งแต่ท่านอายุเพียง 6 ขวบ คงไม่ง่ายนักต่อการดำรงชีวิตในวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยปราศจากหัวหน้าครอบครัว ทางครอบครัวจึงได้ส่งเสียให้เรียนที่วัดด้วย จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ท่านได้ศึกษาธรรม และกลายมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคมในที่สุด

ท่านเป็นผู้มีความสามารถในการใช้ภาษา ทั้งการพูดและการเขียน การแปลวรรณกรรม เช่นภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ มีผลงานหนังสือทั้งเขียนและแปลเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายาน เกี่ยวกับเซน ไว้มาก  อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคม East Buddhist Society ขึ้น ซึ่งหนังสือที่ท่านเขียนและวารสารจากสมาคม East Buddhist Society เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมชาวตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งในยุคก่อนนั้น หากไม่มีผู้ทำหน้าที่นี้ พุทธศาสนาเซนอาจยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แพร่หลายเช่นทุกวันนี้ จึงถือว่าท่านได้ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนาสู่โลกตะวันตกอย่างแท้จริง

ท่านเป็นนักพูด นักแสดงปาฐกถา จากผลงานการเป็นอาจารย์และนักบรรยาย ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในหลายประเทศ และทั้งเป็นครูสอนได้ทั้งทฤษฎีเและแนวทางปฏิบัติเซน ท่านได้รับการยกย่องเกียรติ และความสามารถจากวัดในญี่ปุ่นหลายวัด และรางวัลเกียรติยศจากประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เป็นถึงความสามารถที่เป็นที่ยอมรับจากสังคม

ผลงานที่ส่งผลต่อสังคมมากที่สุด ของท่าน ดร.ซูซุกิ ผู้ศึกษา สรุปความคิดเห็นว่าท่านเป็นบุคคลที่สร้างผลงานที่ส่งผลต่อสังคมหลายด้าน คือ

–               ด้านพุทธศาสนา ดังเนื้อหาที่ได้แสดงไว้ในเอกสารทั้งหมดนั้น พอสรุปยืนยันได้ว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ พุทธศานานิกายมหายาน  พุทธศาสนานิกายเซน

–              ด้านการศึกษาท่านเป็นอาจารย์สอนศาสนาในหลายมหาวิทยาลัยทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน

–              ด้านสังคม วัฒนธรรม ผลงานของท่านส่งผลกระทบโดยตรงต่อสังคมชาวตะวันตก เป็นผู้นำวิถีแห่งเซน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของชาวตะวันออกสู่ตะวันตก

ต่อหลักการเซนและแนวคิดของเถรวาท จากการเปรียบเทียบแนวคิดของท่านพุทธทาสและท่าน ดร.ซูซุกิ แม้มีความแตกต่างของวิธีการสื่อ การสอน แต่เป้าหมายสุดท้ายของหลักการทั้งสอง ก็คือ การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย  การทำจิตให้ว่างเปล่า พ้นจากการยึดติด ยึดมั่นใดๆ  ฉะนั้นแม้อยู่ในสังคมของเถรวาทก็มิควรปิดกั้นทางปฏิบัติตามแนวของมหายาน  แม้นับถือมหายานก็มิควรปิดกั้นแนวทางของเซน หรือของลัทธิอื่นใด หากลัทธินั้นมีคำสอนอยู่บนกฎแห่งไตรลักษณ์ และตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

  บรรณานุกรม

 

หิมพรรณ  รักแต่งาม.(2551). การศึกษาวิเคราะห์การตีความหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของ ติช นัท ฮันท์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร

ติช นัท ฮันท์ และคณะ. (2550). เริ่มต้นใหม่. ตะวันออกจำกัด : กรุงเทพมหานคร

ทวีวัฒน์ ปุณทรกวิวัฒน์. ปรัชญาเมธีกับพุทธทาสภิกษุ .พิมพ์ครั้งที่ 2 .สำนักพิมพ์น้ำฝน :  กรุงเพท

D.T.Suzuki. 1983.  the Zen Doctrine of No Mind , Australia : Century Hutchinson Group.

Daisetz Teitaro Suzuki . 1935 . D.LITT. Manual of Zen Buddhism , Kyoto : [n.p.]

Buddhadasa  Bhikkhu . 1984 . Heart-Wood  From The Bo Tree , Bangkok : Thammasapa.

Buddhadasa  Bhikkhu . 1956. Handbook For Mankind, Bangkok : Thammasapa.

Phra Saneh Dhammavaro.  Buddhism Ethics and the Path of Peace, MCU Chiang Mai, 3rd , 2005

ฐานข้อมูลออนไลน์

DaisetzTeitaroSuzukiสืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ,จาก http://netowne.com/eastern/ buddhism/

Daisetz Teitaro Suzuki สืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ,จาก http://www.headless.org

Daisetz Teitaro Suzuki สืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ,จาก http:// www.anb.org/articles/08/08-01898.html)

THESUTRASสืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม  2551 ,จาก http://www.sacred-texts.com/bud/mzb/mzb03.htm

The Ten Oxherding Pictures สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ,จาก http://www.sacred texts.com/bud/mzb/oxherd.htm

Thich  Nhat  Hanh สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ,จาก http://www.thaiplumvillage.org

ZEN Buddhism สืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ,จาก http://www.en.wikipedia.org/ wiki/Daisetz_Tei taro_Suzuki)

(บทความนี้เขียนเสร็จปีพ.ศ.2551 ขณะเป็นนิสิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาเขตอุบลราชธานี)

D. T. Suzuki ประวัติ ผลงาน และหลักคำสอนดี.ที.ซูซุกิ

 (Daisetz Teitaro Suzuki (鈴木 大拙 Suzuki Daisetsu,)

โดยพระสุเธีย สุวณฺณเถโร (sothea.yon)

ดาวโหลด (ขออุทิศชิ้นงานนี้แด่คุณลุง    คุณอา  และน้องสาวที่ได้จากโลกนี้) 

dts-01s dts_poster

                ไดเซทสึ ไททาโร ซูซุกิ  (鈴木 大拙)    เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413)  เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) อายุ 95 ปี  เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักปฎิบัติ ที่มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนานิกายเซเป็นผู้แปลวรรณกรรมภาษาจีน ญี่ปุ่และ สัสกฤต หลายเล่ม ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้นำและเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนจากโลกตะวันออก สู่โลกตะวันตก

ไดเซทสึ ไททาโร ซูซูกิ เกิดที่ จังหวัดคานาซาวะ อิชิกาวา

ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรคนเล็ก(คนที่ 5) บิดาเป็นหมอ อยู่ในตระกูลซามูไร

และเสียชีวิตเมื่อซูซุกิ มีอายุได้เพียง 6 ขวบ

ด้านการศึกษา  เกี่ยวกับพุทธศาสนา ไดเซทสึ ไททาโร ซูซูกิ สุนใจศึกษาเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญาเป็นอย่างมาก เค้าพยายามสนทนาธรรมกับพระนักบวชในพุทธศาสนานิกายเซน  ชอบฟัง อ่านเรื่องเล่านิทานเซนต่าง ๆ นอกจากนี้ เค้าเองได้รู้จักพระอาจารย์โกะเซน อิมากิตะ ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียง  ท่านเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนานิกายเซน

                หลังจากมารดาเสียชีวิต ซึ่งขณะนั้น ซูซูกิ มีอายุได้เพียง 20 ปี พี่ชายซึ่งเป็นทนายความ ได้ส่งไปเค้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล ที่โเกียว ซูซูกิ   เลือกพักใกล้วัดกามากะ เพื่อศึกษาธรรมะกับ พระอาจารย์ชากุ โซเอน (Shaku Soen) พระเซนที่มีชื่อเสียง ซูซูกิ ได้รับการฝึกปฏิบัติตามแนวทางเซน การสื่อสารภายในตน การสื่อโดยปราศการพูด การนั่งสมาธิที่ยาวนาน (Zazen) เป็นการฝึกปฏิบัติอย่างมุ่งมั่น อุตสาหะอย่างหนักในระยะเวลา 4 ปี เกี่ยวกับจิต กาย ศีล ธรรม และสติปัญญา ซึ่งในช่วงนั้นซูซูกิใช้ชีวิตเป็นพระเซน ซูซูกิได้เขียนเล่าประสบการณ์การเป็นพระเซนไว้ในหนังสือ “ The Training of the Zen Buddhist Monk ”

ปี ค.ศ.1890 อาจารย์ชากุ โซเอน ได้เชิญซูซูกิ เดินทางไปอเมริกาเพื่อทำหน้าที่แปลหนังสือของอาจารย์ชากุ โซเอน เป็นภาษาอังกฤษ และได้ใช้โอกาสนี้แปลบทความโบราณของชาวเอเชียเป็นภาษา อังกฤษอีกด้วย เช่น Awakening of Faith in the Mahayana  เป็นต้น บทบาทในการเป็นนักแปลนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพเป็นนักเขียนในเวลาต่อมา

 

 

ประวัตตำแหน่งและผลงาน  

                นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว ซูซุกิ ยังสามารถพูด และเขียนได้หลายภาษา เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาจีน เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ 

                ปี ค.ศ. 1893 พระอาจารย์ชากุ โซเอน ได้เข้าร่วมประชุมสภาศาสนาแห่งโลก พร้อมพาซูซูกิเดินทางไปด้วย ดร.พอล คาร์ลอส (Dr.Paul Carus) นักวิชาการชาวเยอรมัน ซึ่งพักอยู่ที่ลาซาล รัฐอิลินอยส์(Lasalle,Illinois) ได้เสนอให้แปล และตีพิมพ์ วรรณกรรมชาวตะวันออกเผยแผ่สู่ประเทศตะวันตก พระอาจารย์ชากุ โซเอน ได้มอบหมายให้ซูซุกิรับงาน ซูซุกิ อาศัยและทำงานที่บ้านของ ดร.พอล คาร์ลอส งานชิ้นแรกที่แปลคือคัมภีร์โบราณจีน เต๋า เต๋ กิง จากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ

                ปี ค.ศ.1907  ในระหว่างที่ทำงานในสหรัฐอเมริกานั้น ซูซุกิ ยังได้เดินทางเพื่อร่วมประชุมและบรรยายเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานในหลายประเทศในยุโรป และได้เขียนหนังสือ Outlines of Mahayana Buddhism    ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของซูซูกิอีกด้วย

ปี ค.ศ.1909  เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย Peer’s School (ปัจจุบันคือ Gakushuin University)

ปี ค.ศ.1911 ซูซุกิ สมรสกับ Beatrice Erskine Lane ซึ่งเป็นนักวิชาการเทววิทยา ทั้งสองทำงานร่วมกันที่สมาคมเทววิทยา ณ สถาบัน Theosophical Society Adyar (สมาคมเทวปรัชญาในยุโรปและอเมริกามีวัตถุประสงค์เพื่อรวมศาสนาโดยถือหลักตามศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน) ซูซูกิรับหน้าที่เป็นนักปรัชญาพุทธศาสนาเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายาน จนกระทั่งปี ค.ศ.1939 ภรรยาได้เสียชีวิต                               

                ปี ค.ศ.1921  รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยโอตานิ (Otani University) และในปีนี้เอง ซูซุกิและภรรยา ได้ก่อตั้งสมาคม “Eastern Buddhist Society ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายมหายาน และจัดพิมพ์วารสาร  The Eastern Buddhist เพื่อเผยแผ่ไปยังประเทศตะวันตก โดยส่งวารสารไปยังสภาศาสนาโลก ประจำสหรัฐอเมริกา(ค.ศ.1936) และมหาวิทยาลัยลอนดอน   ซูซุกิ นอกจากนี้ได้สร้างผลเกี่ยวกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะ Studies in Zen Buddhism (1927-1934)

                ซูซุกิ ยังได้เขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานนิกายสุขาวดี (Pure Land Buddhism)โดยเฉพาะลัทธิชิน หรือ โจโด ชินชู (Shin Buddhism : Jodo Shinshu) และแปลหนังสือเกี่ยวกับนิกายสุขาวดีอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความสนใจวัฒนธรรมศาสนาของจีนเป็นพิเศษ ผลงานเขียนและแปลหนังสือหลายเล่มนี้ แสดงให้เห็นถึงความสนใจ และใช้ตัวอักษร การสอนเซนตามแบบจีน(Chan) ดังนั้น จึงได้รับบทบาทสำคัญในการออกแบบข้อสอบเกี่ยวกับนิกายเซนในประเทศจีน

                นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางเซนและประวัติพุทธศาสนานิกายเซนแล้ว   ซูซุกิยังได้รับการกล่าวยกย่องว่าเป็นผู้มีประสบการณ์และเข้าถึงเซน (Satori) อีกด้วย    ปี ค.ศ.1951 ซูซุกิ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินทางบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ทั่วสหรัฐอเมริกา และสอนประจำที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี ค.ศ.1952-1957 ซูซุกิเสียชีวิตในปี ค.ศ.1966

ผลงานเขียนต่าง ๆ

 ผลงานหนังแปล

  1. Toa Te ching
  2. Mahayana Buddhism outlook of Zen Tradition
  3. The Gospel of Buddha (Carus)
  4. Introduction of Gospel of Buddha (Shoen)
  5. Heaven and Hell (Emanual Swedenborg) (แปลเป็นญี่ปุ่น)

 ผลงานเขียน  

  1. An Introduction to Zen Buddhism
  2. The Training of the Zen Buddhist Monk
  3. Awakening of Faith in the Mahayana. In 1907
  4. Essays in Zen Buddhism Vol.1. 1927
  5. Essays in Zen Buddhism Vol.2. 1933
  6. Essays in Zen Buddhism Vol.3. 1934
  7. The Eastern of Buddhist
  8. The Spirit of Zen
  9. An Introduction of Zen Buddhism, 1934
  10. Zen and Japanese Culture, 1959
  11. Studies in Zen Buddhism
  12. Manual of Zen Buddhism
  13. Outline of Mahayana Buddhism, 1907
  14. The Zen Doctrine of No-mind, 1949
  15. Living by Zen ,1949
  16. Christian and Buddhist :The Eastern and Western Way ,1957

4.3 ตำแหน่งและหน้าที่

  • เป็นศาสตราจารย์ ด้านปรัชญาพุทธศาสนา ที่ Otani University
  • เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย 1952-1957
  • เป็นอาจารย์สอนวิชา Seminars on Zen at Columbia University
  • ก่อตั้งสมาคม Eastern Buddhist Society
  • ได้รับการตั้งชื่อว่า Kegon จากชาวญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นผู้ชำนาญในเรื่องวิธีปฏิบัติ และประวัติพระพุทธศาสนานิกายเซน
  • เป็นผู้จัดทำข้อสอบพระพุทธศาสนา นิกายเซน(ประเทศจีน)
  • เป็นผู้แสดงปาฐกถา ทั่วมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกา 1951
  • เป็นผู้แสดงปาฐกถา ที่​ Gakushu University
  • เป็นผู้แสดงปาฐกถา ที่ Tokyo Imperial University.
  • ได้รับเกียรติแสดงปาฐกถาที่ประชุมศาสนาโลก World Congress of Faith
  • ได้รับเกียรติไปร่วมประชุม ที่ Honolulu เรื่อง Second East-West Philosophers’ Conference
  • ได้รับเกียรติไปแสดงปาฐกถา ที่มหาวิทยาลัย Cambridge สหรัฐอเมริกา
  • ได้รับเกียรติไปแสดงปาฐกถา ที่มหาวิทยาลัย Massachusettes  สหรัฐอเมริกา

 

รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ      Japan’s National Culture Medal

 

 แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับเซน ของ D.T.Suzuki

                ซูซูกิได้แสดงแนวคิด และประสบการณ์ที่มีต่อเซนไว้ในหนังสือที่เขียน และการบรรยายตามสถานที่ต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเผยแผ่ต่อชาวโลกตามโอกาส ก่อนจะแสดงถึงข้อความสำคัญของแนวคิดสำคัญของท่าน ซูซุกิ ผู้จัดทำรายงานจึงขอสรุปหลักการของเซนไว้พอสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าแนวคิดที่มีต่อเซน และภาวะซาโตริ (Satori) ซึ่งถือเป็นภาวะสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติเซนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นแก่ตน

หลักการของเซน

                เซน มุ่งให้มนุษย์มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติแท้ของตนเอง จนเห็นว่าตนเองมีพุทธภาวะอยู่ภายในแล้วเกิดความเพียรพยายามที่จะเข้าถึงพุทธภาวะดังกล่าว บรรลุถึงพุทธภูมิอันเป็นจุดเริ่มต้นของตัวเขาเอง (และของสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า) ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนานิกายเซนจึงมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญซึ่งพอจะสรุปได้4 ประการ  ดังนี้

  1. การถ่ายทอดคำสอนนอกคัมภีร์
  2. ไม่ยึดมั่นถ้อยคำและตัวอักษร
  3. ชี้ตรงไปยังจิตวิญญาณของมนุษย์
  4. มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติแท้ของตนเองและบรรลุพุทธภาวะที่อยู่ภายใน

เมื่อเซนระบบใหญ่มีทัศนะเช่นนี้จุดหมายแห่งการดำเนินชีวิตในรูปแบบของเซนจึงได้แก่ การบรรลุ ซาโตริ (Satori) หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลสามารถทำลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้วกลับเข้าสู่พุทธภาวะ (โพธิ) ซึ่งเป็นภาวะบริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วในแต่ละคน คือ การบรรลุถึงธรรมชาติแท้ของตนนั่นเอง แต่หากพูดตามภาษาของเซนแล้วก็อาจจะพูดได้ว่า ไม่มีการบรรลุถึงอะไรเลย เพราะว่าเมื่อถึงที่สุดแล้วภาวะที่ค้นพบหรือบรรลุถึงนั้น ก็ไม่ใช่ของใหม่หรือของภายนอกแต่อย่างใด หากแต่เป็นของเดิม ๆ ที่มีอยู่ภายในนั่นเอง ดังเช่นที่ อาจารย์ฮวงโป กล่าวว่า “เมื่อรู้แจ้งโพธิแล้ว จิตของเธอซึ่งเป็นพุทธะอยู่แล้วก็จะถูกรู้แจ้งด้วย การกระทำทุกอย่างตลอดกาลอันยาวนานก็จะถูกพบว่าเป็นเพียงแค่แบบฝึกฝนเท่านั้น เปรียบเหมือนคนแข็งแรงที่พบก้อนเพชรซึ่งอยู่ที่หน้าผากของตนเองแล้ว ก็จะรู้ว่าไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับความเพียรพยายามที่จะค้นหาในภายนอกแต่อย่างใด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ในการบรรลุถึงความรู้แจ้งนั้น เรา(ตถาคต)ไม่ได้มีอะไรที่บรรลุถึงเลย”

                แม้ในภาษาเซนจะบอกว่า ไม่มีการบรรลุถึงอะไรเลยก็จริง แต่หากใช้ภาษาธรรมดาทั่วไปแล้ว การที่บุคคลสามารถขจัดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน จนรู้แจ้งพุทธภาวะภายในตนเองได้เช่นนี้ก็น่าจะเรียกว่าเป็นการบรรลุธรรมได้เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการในนิกายเซนรุ่นหลัง ๆ จึงนิยมใช้ศัพท์ว่า ซาโตริ (Satori) เป็นชื่อแทนภาวะรู้แจ้ง (หรือพุทธภาวะ) ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการบรรลุธรรมในนิกายเซน ก็หมายถึง การบรรลุซาโตรินั่นเอง

                ซาโตริ (Satori) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีรูปกิริยาในภาษาญี่ปุ่น ซาโตรุ (Satoru : รู้แจ้ง) ซึ่งตรงกับคำในภาษาจีนว่า หวู่ (Wu) เราอาจให้คำจำกัดความซาโตริได้ว่า เป็นการมองเข้าไปรู้แจ้งภายในอย่างฉับพลัน (intuitive looking-into) ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับความรู้ความเข้าใจที่เกิดเพราะกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการทางตรรกะ แต่ไม่ว่าจะนิยามอย่างไร ซาโตริก็ยังคงหมายถึงการตีแผ่เปิดเผยโลกทัศน์ใหม่ที่ไม่สามารถจะรับรู้ได้ด้วยจิตใจที่ยังสับสนในทวิทัศน์ (a dualistic mind) ซาโตริเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเซนซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ เพราะหากปราศจากซาโตริเสียแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีเซน เพราะชีวิตของเซนเริ่มต้นด้วยการเปิดเผยของซาโตริ

พจนานุกรมเซน ได้อธิบายความหมายของซาโตริไว้ว่า “ซาโตริ ตามรูปศัพท์หมายถึงการรู้อย่างแจ่มแจ้งหรือการตรัสรู้ แต่ในเซนหมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมดจดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเองโดยปราศจากสิ่งใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจหรือทางร่างกายก็ตาม) ศัพท์ว่า ซาโตรินี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ปรัชญา-Prajna’ ประสบการณ์ใดๆ ที่สามารถถูกอธิบายกำหนดลักษณะได้ด้วยใจหรืออารมณ์ ประสบการณ์นั้นๆ ก็ไม่จัดเป็นซาโตริตามความหมายข้างต้น แม้ว่าบางครั้งคำพูดจะถูกใช้อย่างคร่าวๆ เพื่อไปบ่งถึงภาวะที่จิตใจและอารมณ์เป็นของฟูเฟื่องสูงสุดและรู้สึกท่วมท้นที่ได้สำนึกถึงธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ฉับพลัน   ในนิกายเซนทั่วไป ซาโตริจะมีความหมายอย่างชัดเจนคือเป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองแล้วค้นพบบางสิ่งซึ่งแปลกใหม่อันจะรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งและสิ่งนั้นก็จะส่องประกายให้ชีวิตทั้งหมดของเขาแจ่มกระจ่างสว่างไสวไปตลอด แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่อาจถูกแสดงออกมาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ ก็ตาม อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า การหยั่งรู้อย่างฉับพลันอาจชี้บ่งถึงประสบการณ์แห่งซาโตริซึ่งมีอยู่ภายใน ซึ่งได้ส่องประกายของมันเข้าไปสู่จิต แต่ก็ไม่อาจจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อซาโตริปรากฏขึ้นมา มันก็จะส่งผลไปอย่างตรงดิ่งและดำเนินเรื่อยไปอย่างไม่ถดถอย”

ซูซุกิ  ได้พยายามใช้ภาษาอธิบายถึงภาวะและความสำคัญของซาโตริ   ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

1. ซาโตริ ไม่ใช่ภาวะแห่งการครุ่นคิดถึงมันอย่างเอาจริงเอาจังแล้วสร้างมโนภาพเกี่ยวกับมันขึ้นมาโดยไม่ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพราะก่อนที่การสำนึกรู้จะเปิดเผยตัวออกมา เราก็ได้ตอบสนองต่อเงื่อนไขทั้งภายในและภายนอกด้วยการนึกคิดปรุงแต่งและวิเคราะห์วิจารณ์อยู่ตลอดเวลา หลักการแห่งเซนก็คือการทำลายกรอบแห่งความเคยชินเช่นนั้น แล้วสร้างเค้าโครงเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วกลับขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานที่แปลกใหม่ออกไป ฉะนั้นในพุทธศาสนานิกายเซนจึงไม่มีการคิดคำนึงถึงข้อความที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งมีลักษณะทางอภิปรัชญาซึ่งจะสร้างการสำนึกรู้ที่มีลักษณะสัมพัทธ์เท่านั้น

2. ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้บรรลุซาโตริเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าไปสู่ความจริงแห่งเซนได้ ซาโตริจึงเป็นการเปล่งประกายอย่างฉับพลันเข้าไปสู่การสำนึกรู้ถึงความจริงใหม่ๆ ที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน มันเป็นอาการแตกกระจายทางใจอย่างหนึ่ง (a sort of mental catastrophe) ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากที่ผู้ปฏิบัติได้เพียรพยายามใช้กระบวนการทางปัญญาและการแปลความหมายเข้าโหมกระหน่ำ (เพื่อแก้ปัญหาโกอัน) อย่างเต็มที่ เป็นภาวะทางธรรมชาติที่คลี่คลายออกมาหลังจากถูกอัดทับถมไปด้วยทฤษฎีและการใช้เหตุผลต่างๆ นานา

3. ซาโตริเป็นเหตุผลเดิมแท้ (raison d’etre) ของเซน ซึ่งหากปราศจากมันเสียแล้ว เซนก็จะไม่ใช่เซนอีกต่อไป “เซนที่ไร้ซาโตริก็เหมือนกับพริกที่ไร้รสเผ็ดนั่นเอง” เพราะฉะนั้น อุบายวิธีหรือข้อวัตรปฏิบัติและหลักธรรมทุกอย่างจึงมุ่งตรงต่อซาโตริเหมือนกันหมด อาจารย์ผู้อบรมจะไม่รอให้ซาโตริเกิดขึ้นมาเอง แต่จะพยายามใช้วิธีการที่เหมาะสมมาช่วยศิษย์ เป็นการจัดเงื่อนไขที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ซาโตริได้ปรากฏขึ้นมา แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญาหรือการใช้มโนทัศน์สร้างจินตภาพขึ้นแก่ศิษย์แต่อย่างใด เพราะหากทำเช่นนั้น บรรดาศิษย์ก็ยิ่งจะหลงทางหนักเข้าไปอีก ซาโตริจึงอยู่เหนือการศึกษาเล่าเรียนพระสูตร และอยู่เหนือการอภิปรายพระสูตรด้วยแง่มุมทางวิชาการ เป็นภาวะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเซนโดยแท้

4. การเน้นซาโตริเช่นนี้ทำให้เซนมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจาก”ธฺยาน”อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว เซนไม่ใช่ระบบของธฺยาน (Dhyana) ที่พุทธศาสนานิกายอื่นๆ นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียและในประเทศจีน เพราะจุดมุ่งหมายของธฺยาน คือ ความสงบนิ่งแห่งจิตที่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ (ที่เรียกชื่อว่า การอยู่ในฌาน -trance- ) ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในตัวเอง แต่ในนิกายเซนจะต้องมีซาโตริ คือมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในจิตใจซึ่งได้ทำลายกระบวนการสั่งสมทางปัญญา (the accumulations of intellection) ที่คุ้นชินอยู่ตามปกติวิสัย แล้วสร้างฐานชีวิตใหม่แก่ตนเอง ซึ่งในระบบธฺยานจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีเช่นนี้ มีเพียงการฝึกจิตให้สงบนิ่งแน่วแน่เท่านั้น

5. ซาโตริไม่ใช่การเห็นพระเจ้า เพราะในเซนจะไม่มีมโนทัศน์เรื่องพระเจ้าแต่อย่างใด เซนดำเนินไปด้วยตัวของมันเอง ไม่อิงอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจากพระผู้สร้าง (-ในกรณีที่มีพระผู้สร้าง-) เมื่อมนุษย์เข้าใจเหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเขา เพราะ ณ ที่ใดที่เราเข้าใจพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นความเร้นลับ ณ ที่นั้นก็ถือว่ามีการเข้าใจต่อสิ่งที่จำกัด (ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าผู้ไม่ทรงมีข้อจำกัดใดๆ) เมื่อเรามีพระเจ้า สิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าก็จะอยู่แยกต่างหากออกไป กลายเป็นการจำกัดตัวเองไปโดยปริยาย (กลายเป็นว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ดำรงอยู่พร้อมกันในขณะเดียวกัน 2 สิ่ง คือ สิ่งที่เป็นพระเจ้ากับสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะยอมรับกันได้) เซนประสงค์จะให้เกิดอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ แม้กระทั่งสามารถเป็นอิสระจากพระเจ้าได้ เซนไม่ต้องการให้ศาสนิกไปยึดติดกับพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ที่ถือกันว่าสูงส่ง หากแต่ประสงค์ให้เขาดำรงอยู่อย่างอิสระ ปราศจากอัตตาที่มุ่งแสวงหาแหล่งยึดติด และอัตตาที่จะเป็นแหล่งยึดติดใดๆ ทั้งสิ้น ดังคำกล่าวอย่างทระนงที่ว่า “จงล้างปากของเจ้าเสีย เมื่อเจ้ากล่าวคำว่าพุทธะ”

6. ซาโตริไม่ใช่ภาวะแปลกประหลาดในจิตใจ(ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในสาขาจิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) หากแต่เป็นภาวะปกติที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมในจิตใจ แต่เมื่อเซนบอกว่าซาโตริหมายถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ภายในจิตใจดังที่ผ่านมานั้น หลายคนอาจสงสัยว่ามันเป็นความผิดปกติทางจิตใจที่แตกต่างไปจากผู้คนทั่วๆ ไปกระมัง ข้อสงสัยนี้เราอาจตอบได้ด้วยคำกล่าวของท่านโจชู (Joshu) ที่ว่า “เซนก็คือความคิดในทุกๆ วันของคุณนั่นเอง” เมื่อเราเข้าถึงเซนอย่างแท้จริงแล้ว เราจะเป็นคนสมบูรณ์และเป็นปกติอย่างที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เรายังได้ประสบกับสิ่งต่างๆ ด้วยท่าทีใหม่ๆ อีกด้วย ความคิดของเราจะดำเนินไปแตกต่างจากแต่ก่อน คือจะรู้สึกสบายใจ สุขสงบมากขึ้นกว่าเดิม และมีความสดชื่นแจ่มใสมากกว่าที่เคยประสบมาก่อนหน้านี้ ลีลาแห่งชีวิตก็จะแปรเปลี่ยนไป บางสิ่งจะกลับดูสดใสฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีก ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิก็ดูสดสวยขึ้นกว่าเดิม ลำธารแห่งขุนเขาก็ดูมีสีสันและสดใสสบายตามากขึ้น เมื่อชีวิตที่บรรลุซาโตริกลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสุขสดชื่นได้มากกว่าเดิมและแผ่ขยายขอบเขตไปครอบคลุมทั่วทั้งจักรวาลได้เช่นนี้ ก็น่าจะต้องมีอะไรบางอย่างในซาโตริที่มีคุณค่าสูงส่งพอที่จะทำให้เราเพียรพยายามเสาะแสวงหาเพื่อที่จะได้บรรลุถึงมันอย่างแน่นอน